ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลียม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในคาบสมุทรอาหรับ สายพันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากกว่า 500 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีแตกต่างกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น
คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขมในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย โดยปลูกเพื่อใช้ในการเกษตรและการแพทย์รวมถึงสำหรับการตกแต่งและปลูกเป็นต้นไม้กระถาง
สรรพคุณของวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นยาฆ่าเชื้อ ฝาดสมานแผล ห้ามเลือด ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรีย ได้ทดลองพบว่า ว่านหางจระเข้สามารถนำมาใช้รักษาแผลธรรมดา แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลที่เกิดจากการฉายรังสี ลดอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อโรค ป้องกันผิวไหม้เพราะแดด บำรุงผิวหน้า กำจัดฝ้า ยาระบาย แก้ไอ เจ็บคอ รักษามะเร็ง แก้พิษแมงกะพรุน ช่วยประสานกระดูก รักษาโรคตับและรักษาสมองผิดปกติ ด้วยสรรพคุณที่มากมายนี้เอง “ว่านหางจระเข้” จึงถูกขนานนามว่า “สมุนไพรมหัศจรรย์จากธรรมชาติ”
สารสำคัญที่พบ : Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine.
ข้อมูลด้านการคลินิค
ข้อมูลด้านความปลอดภัย
การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร การใช้น้ำยางว่านหางทำให้ปวดท้องและเป็นตะคริว การบริโภคสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ที่ต่อเนื่องนานเกินไป (อย่างน้อย 3 สัปดาห์และนานถึง 5 ปี) มีความเกี่ยวข้องกับกรณีของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
การใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที
เอกสารอ้างอิง
1. https://th.wikipedia.org/wiki/
2. https://med.mahidol.ac.th/patient_care/th/health_issue/06112015-1325-th
ลิขสิทธิ์ ©2023 SaNi Lab (Thailand) - สงวนสิทธิ์ทุกประการ
All nature for Life - business for better society
เราาใช้คุกกี้ในการวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดีขึ้น เมื่อยอมรับการใช้งานคุกกี้ของเรา เราจะรวบรวมข้อมูลของคุณกับข้อมูลผู้ใช้อื่นๆ ทั้งหมด